แผ่นลามิเนต คือแผ่นวัสดุไฟเบอร์เคลือบสารใช้ติดกาวลงบนไม้ นิยมใช้ติดฝาผนัง ประตูหรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ลามิเนตมีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือกระดาษและเรซิ่น 1. กระดาษ ประกอบด้วย - กระดาษ Decor Paper เป็นกระดาษที่กำหนดสีสันลวดลายต่างๆ บนแผ่นลามิเนต - กระดาษ Craft Paper เป็นกระดาษสีน้ำตาลมีไว้เพื่อเพิ่มความหนาของแผ่นลามิเนต อยากได้หนาขนาดไหนก็เพิ่มกระดาษตรงชั้นนี้ * โดยส่วนใหญ่กระดาษที่นำมาใช้ในการผลิตนำเข้ามาจากเมืองหนาวโซนยุโรป เค้ามีเหตุผลนะไม่ใช่ว่าไม่อุดหนุนสินค้าไทย แต่เป็นเพราะกระดาษจากเมืองหนาวมีความเหนียวแข็งแรงกว่ากระดาษเมืองร้อน 2. เรซิ่น ประกอบด้วย - Melamine Resin ใช้เคลือบกระดาษ Decor เพื่อให้เกิดความแข็งแรง ทนทานกันรอยขีดข่วน - Phenolic Resin ใช้อาบกระดาษ Craft Paper ให้รวมตัวเป็นหนึ่งชิ้นงาน แผ่นลามิเนตนั้นมี 6 ชั้น ชั้นที่ 1 Craft Paper 1 ชั้นที่ 2 Craft Paper 2 ชั้นที่ 3 Craft Paper 3 * สามชั้นแรก คือชั้นที่จะกำหนดความหนาของแผ่นลามิเนต หากจะเพิ่มความหนาก็เพิ่มตรงนี้ ชั้นที่ 4 Under Lay กระดาษชั้นนี้มีไว้เพื่อป้องกันกระดาษ Craft Paper เปื้อนสีกระดาษบนชั้น Decor Paper ชั้นที่ 5 Decor Paper เป็นกระดาษใช้กำหนดสีสันและลวดลายของแผ่นลามิเนตที่เห็นสวยๆ ชั้นที่ 6 Over Lay ชั้นสุดท้ายชั้นนี้เป็นการเพิ่มความแข็งแรงทนทานให้กับกระดาษ ขั้้นตอนการอัดกระดาษลามิเนต ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากการอัดกระดาษโดยใช้ความร้อน 200 องศา ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากการอัดกระดาษโดยใช้ความร้อน 200 องศา ขั้นตอนที่ 2 หลังจากที่อัดกระดาษด้วยความร้อนแล้ว ต่อด้วยการเข้าหล่อเย็นเพื่อให้เกิดความคงที่ของกระดาษ ขั้นตอนที่ 3 จากนั้นนำเข้าเครื่องอัด 15 ชั้น อันนี้ก็แล้วแต่กำลังผลิตของแต่ละโรงงาน ขั้นตอนที่ 4 เมื่ออัดเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าเครื่องตัดกันต่อโดยขั้นตอนนี้จะเข้าเครื่องตัดเรซิ่นส่วนที่เลอะหรือเกินออก โดยการใช้ Laser เพื่อให้ได้ขนาดแผ่นที่ถูกต้องและแม่นยำ เรียกว่าไม่มีพลาดกันเลยทีเดียว ขั้นตอนที่ 5 ตัดเรียบร้อยแล้วก็มาขัดหลังกันต่อ เพื่อให้ส่วนที่ติดกาวมีความสากเป็นร่องหรือเสี้ยน ทำให้ติดกาวได้แน่นยิ่งขึ้น ขั้นตอนที่ 6 เสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะนำมาติด Lot Number ที่ผลิตแล้วจึงเข้าสู่กระบวนการสุดท้าย ขั้นตอนที่ 7 การตรวจสอบคุณภาพตามมาตราฐานของ ISO 4586 เป็นมาตราฐานการผลิตแผ่นลามิเนตโลก โดยมีการทดสอบสองวิธีคือ การทดสอบด้วยสายตา แผ่นลามิเนตทุกๆ แผ่นจะใช้คนยืนกันคนละข้างสังเกตุจุดแปลกปลอม จุดดำต้องห้ามเกินสามจุด จากนั้นจึงเข้าสู่การทดสอบในห้อง LAB เป็นการทดสอบทางกายภาพดังต่อไปนี้ 7.1 ความทนทานต่อการขัดถู ต้องทนได้ 400-500 ครั้ง 7.2 การขีดข่วนโดยเอาเพชรขัด 7.3 กันกระแทก * 3 ขั้นตอนนี้การทดสอบต้องไม่เป็นรอยลึกถึงกระดาษชั้น Under Lay 7.4 ทนต่อการเกิดคราบชา กาแฟ ต้องสามารถทำความสะอาดได้ 7.5 ความร้อน เป็นการนำสารกรีเตอร์ไลน์ไซเตอร์เรสใส่ภาชนะแล้วตัองวางได้โดยไม่เป็นรอย 7.6 บุหรี่ การทดสอบต้องไม่ติดไฟและการลามไฟ ขั้นตอนที่ 8 ขั้นตอนสุดท้ายก่อนจะส่งถึงมือผู้ใช้อย่างเรา นั่นก็คือการติดฟิลม์แผ่นลามิเนตที่เป็นสีเข้มและผิวมันเงา กันรอยขีดข่วนขณะขนส่ง ซึ่งพอช่างติดตั้งเสร็จแล้วก็จะลอกฟิมล์นี้ออก การรับรองมาตรฐาน 2 ข้อ 1. Greenguard Indoor Air เป็นการรับรองมาตราฐานว่าวัสดุดังกล่าวไม่ปล่อยสารพิษในระดับที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน 2. Greenguard for Children & School รับรองว่าวัสดุดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก ด้วยตัวของผลิตภัณฑ์แล้ว นอกจากติดผนังแล้วยังสามารถนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ได้อีกด้วย เรียกว่าหากมีไอเดียบรรเจิดรับรองว่าบ้านสวยแน่ๆ อารมณ์เหมือนไอเดียแต่งแต้มสีสัน